NAS Synology
เมื่อพูดถึงคำว่า Data Center เรามักนึกถึงการมีตู้ Rack เพื่อรองรับการติดตั้ง Server, Storage, Switch และ Router ที่หลากหลายสำหรับใช้ติดตั้งและให้บริการ Application ต่างๆ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง Synology เป็นหนึ่งในผู้ผลิตที่ต้องการเข้ามาแก้โจทย์ปัญหาข้อนี้ให้การลงทุนสร้างระบบ IT ภายในธุรกิจขนาดเล็ก หรือสาขาขององค์กรกลายเป็นเรื่องที่ง่ายดายและคุ้มค่า ด้วยการนำเสนอแนวคิด Synology All-in-One Server ที่รวมเอาทั้ง Server, Storage, Backup และ Collaboration เข้าไว้ในอุปกรณ์เดียวนั่นเอง
“Synology ไม่ได้เป็นแค่ NAS Storage แต่เป็นทั้ง Application, Server และ Storage ในหนึ่งเดียว”
เมื่อพูดถึงชื่อของ Synology เรามักนึกถึงผลิตภัณฑ์นี้ในฐานะของ NAS Storage สำหรับใช้ในการให้บริการ File Sharing ภายในองค์กร แต่ในความเป็นจริงนั้น Synology ในปัจจุบันนี้ได้พัฒนาไปมากแล้ว ด้วยการรองรับความสามารถอย่างการติดตั้ง Application ใหม่ๆ ผ่านทาง Add-on Package ลงไปบน Synology เพื่อนำ CPU, RAM และ Disk บน Synology ไปใช้ให้บริการอื่นๆ เพิ่มเติมนอกเหนือจากการทำ File Sharing ได้ด้วย ทำให้ Synology นั้นสามารถตอบโจทย์ต่างๆ ได้อย่างเอนกประสงค์เลยทีเดียว
จุดหนึ่งที่น่าสนใจมากคือการที่ Add-on Package จำนวนมากนั้นสามารถติดตั้งเพิ่มได้แบบฟรี ดังนั้นในการใช้งานที่เกิดขึ้นนั้นจึงมักเป็นไปในรูปแบบของการเริ่มต้นจากการที่เหล่าองค์กรคาดหวังการใช้งานเพียงไม่กี่ความสามารถของ Synology ก่อน แล้วจึงค่อยๆ ทดลองใช้งาน Add-on ใหม่ๆ และนำมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจให้ดีขึ้นตามไปด้วย
ทั้งนี้สาเหตุที่ Synology สามารถให้บริการได้หลากหลายภายใน Hardware เพียงหนึ่งเดียวได้อย่างมั่นใจนี้ ก็เป็นเพราะว่า Synology นั้นใช้สถาปัตยกรรมระบบในแบบ Software-Defined Storage (SDS) ที่สามารถทำงานได้บน Hardware ตั้งแต่ขนาดเล็กสำหรับการใช้งานตามบ้าน ไปจนถึง Server Hardware ระดับเดียวกับที่ผู้ผลิตรายใหญ่นำมาขายใน Data Center โดยมี CPU เป็น Intel Xeon นั่นเอง ดังนั้นใน Synology รุ่นสำหรับการใช้งานในระดับธุรกิจ ก็มักจะมี CPU และ RAM ที่เพียงพอสำหรับนำมาให้บริการต่างๆ ได้อย่างยืดหยุ่น ในขณะที่ Disk นั้นทางภาคธุรกิจก็สามารถเลือกใช้งาน SSD หรือ HDD เพื่อให้มีประสิทธิภาพและความจุได้ตามต้องการ
ในตลาดต่างประเทศนั้น การนำ Synology ไปใช้งานเป็นระบบ IT สำหรับธุรกิจขนาดเล็กหรือขนาดกลาง ไปจนถึงสาขาของธุรกิจองค์กรขนาดใหญ่นั้นถือเป็นแนวทางที่ได้รับความนิยมไม่น้อย เพราะด้วยความสามารถที่ครอบคลุมความต้องการต่างๆ, ความง่ายในการใช้งานที่ไม่ต้องข้องเกี่ยวกับ Command Line เลย และการที่สามารถทดแทนบริการ Cloud หลายๆ บริการได้ด้วยการลงทุนเพียงครั้งเดียวเบ็ดเสร็จนั้น ก็ทำให้ Synology กลายเป็นหนึ่งในทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับการลงทุนระบบ IT ภายในภาคธุรกิจในหลากหลายอุตสาหกรรม
“ให้บริการ Server, Storage, Virtualization และ Container ได้ครบวงจรในหนึ่งเดียว”
การตอบโจทย์ความต้องการพื้นฐานทางด้าน Data Center ของ Synology นี้ถือว่าทำได้ค่อนข้างครบครันเลยทีเดียว โดยนอกจากการให้บริการเป็นระบบ File Sharing หรือ iSCSI Storage แล้ว Synology เองก็มี Add-on สำหรับทำหน้าที่เป็นบริการต่างๆ ที่จำเป็นภายใน Data Center ได้หลากหลาย เช่น Active Directory Server, Apache HTTP Server, Backup, Bittorrent, Calendar, CardDAV Server, DNS Server, GitLab, MariaDB, Odoo, OpenERP, RADIUS Server, Redmine, Drupal, WordPress และอื่นๆ อีกมากมาย ไปจนถึงบริการสำคัญอย่าง Log Server ที่ถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่เหล่าองค์กรไทยจะขาดไปไม่ได้ในปัจจุบัน
หนึ่งในกรณีที่ Synology ถูกนำไปใช้งานค่อนข้างเยอะในเมืองนอก แต่ในไทยมักไม่ค่อยพูดถึงกันนั้นคือการนำ Synology มาใช้สร้างระบบ Virtualization และ Container ขนาดย่อมๆ ภายในองค์กร โดยตัว Synology เองนั้นสามารถติดตั้ง Add-on ที่เป็น Hypervisor ชื่อว่า Virtual Machine Manager และสามารถบริหารจัดการผ่านระบบ Web Management ของ Synology ได้เลย อีกทั้งหากต้องการใช้งาน Container ภายในองค์กรทั้งเพื่อการทดสอบหรือพัฒนาระบบใดๆ นั้น ก็สามารถติดตั้ง Add-on Docker ได้ทันทีอีกด้วย
ด้วยความสามารถเหล่านี้ Synology ก็สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายทางด้านลิขสิทธิ์ของ Software ที่เคยต้องลงทุนภายใน Data Center ลงไปได้ไม่น้อยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นระบบ Virtualization จาก VMware vSphere หรือ Microsoft Hyper-V และหลายๆ ความสามารถที่สามารถทดแทน Microsoft Windows Server ได้ องค์กรและธุรกิจต่างๆ จึงสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากทีเดียวหาก Synology สามารถช่วยตอบโจทย์ที่ต้องการได้เพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคสมัยที่เหล่าองค์กรเลือกใช้กลยุทธ์ในการวางระบบสำคัญต่างๆ บน Cloud เป็นหลัก และมีระบบ IT ภายในองค์กรเพียงเพื่อให้บุคลากรภายในองค์กรสามารถทำงานต่อเนื่องไปได้เท่านั้น
ตอบโจทย์การทำงานร่วมกันภายในองค์กร ทดแทนบริการ Cloud
อีกกลุ่มของ Add-on ที่ Synology ให้ความสำคัญค่อนข้างมากก็คือบริการในกลุ่ม Collaboration ที่เปิดให้ผู้ใช้งานหลายๆ คนสามารถทำงานร่วมกันได้หลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็น
- Calendar สำหรับจัดการปฏิทินตารางงานร่วมกัน
- File Sharing สำหรับให้บริการ CIFS/NFS เพื่อแบ่งปันไฟล์งานต่างๆ ภายในองค์กร
- Drive สำหรับสร้าง Sync Folder เหมือนบริการ Cloud Storage ให้สามารถเข้าถึงได้จากทั้ง PC และ Mobile
- Chat ระบบแชทภายในองค์กรที่สามารถเข้ารหัสได้ ใช้งานได้ผ่านทั้ง Web และ Mobile Application โดยสามารถเชื่อมต่อกับบริการ Chatbot ได้
- MailPlus ระบบ Email Server ให้เข้าใช้งานจากทาง Web และ Email Client ทั่วไป
- Note Station ระบบ Note กลางสำหรับจดบันทึกข้อมูลต่างๆ และแบ่งปันข้อมูล Note นั้นๆ ให้กับเพื่อนร่วมงานได้
- Office (Spreadsheet) สามารถทำการแก้ไขข้อมูล Spreadsheet ได้ผ่าน Web พร้อมกับเพื่อนร่วมงานคนอื่นๆ
- GitLab สำหรับจัดเก็บ Source Code และพัฒนา Software ต่างๆ ร่วมกันภายในองค์กร
- Odoo/OpenERP สำหรับให้บริการะบบ ERP ภายในองค์กร
- Redmine สำหรับจัดการระบบ Ticketing / Bug Report
- Drupal/WordPress สำหรับสร้างระบบ Website ภายในองค์กร
จะเห็นได้ว่า Add-on เหล่านี้ก็สามารถตอบโจทย์ด้านการสื่อสารและการทำงานภายในธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางได้ค่อนข้างครอบคลุมทีเดียว รวมถึงสำหรับสาขาของธุรกิจขนาดใหญ่เองก็จะมีอิสระในการเลือกติดตั้งระบบเหล่านี้ขึ้นมาใช้งานเพิ่มเติมภายในสาขาแตกต่างกันไปได้ตามความต้องการ เพิ่มความคล่องตัวในการทำงานให้สูงขึ้นโดยไม่ต้องลงทุนใดๆ เพิ่มเติม
สำรองข้อมูลได้ภายในตัว ตอบโจทย์ Backup และ DR
สุดท้ายนี้ Synology เองก็มีบริการระบบ Backup และ DR ในตัวที่หลากหลายมาก รองรับได้ทั้งการสำรองข้อมูลในระบบ File Sharing/iSCSI, สำรองข้อมูลจากอุปกรณ์ USB, สำรองข้อมูล PC, สำรองข้อมูล Server, ทำ Snapshot สำหรับ VM/Volume, Replicate ข้อมูล, ทำ Rsync, สำรองข้อมูลขึ้น Cloud และสำรองข้อมูลจากบริการ Cloud อย่าง Microsoft Office 365 และ Google G Suite กลับมาจัดเก็บบน Synology ได้ เรียกได้ว่าตอบโจทย์การสำรองข้อมูลเบื้องต้นได้ดีทีเดียว โดยที่ไม่ต้องทำการซื้อโซลูชันด้านการ Backup ใดๆ เพิ่มเติม
ผู้ที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Synology สามารถศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ Synology ด้วยตนเองได้ที่ https://www.synology.com